เปิดประวัติ”เลโอที่ 14″ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้เป็นโป๊ป

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาวโลกจับตามอง “เลโอที่ 14” โป๊ปองค์ใหม่วัย 69 ปี ที่เพิ่งได้รับการประกาศเป็น พระสันตะปาปาลำดับที่ 267 แห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ภายใต้เสียงโห่ร้อง “วีว่า อิล ปาปา” จากมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์

สมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์นี้มีพระนามเดิมว่า โรเบิร์ต ฟรานซิส เพรวอสต์ (Robert Francis Prevost) โดยมีจุดเด่นหลายประการ คือ – ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้เป็นโป๊ป

– โป๊ปองค์ที่สองจากทวีปอเมริกา (ต่อจากโป๊ปฟรานซิส)

– โป๊ปองค์แรกจากคณะนักบวชออกัสติน (Augustinian Order)

ประวัติส่วนตัว

– ประสูติเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1955 ที่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

– บิดาเป็นชาวฝรั่งเศส–อิตาลี มารดาเป็นชาวสเปน

– มีพี่น้องชายรวม 3 คน

เส้นทางชีวิตนักบวช

– จบปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยวิลลาโนวา (Villanova University) พร้อมทั้งศึกษาปรัชญา

– เข้าร่วมคณะออกัสติน(Augustinians)ในปี 1977 ปฏิญาณตนอย่างเป็นทางการในปี 1981

– ศึกษาศาสนศาสตร์ที่ Catholic Theological Union และกฎหมายศาสนจักรที่ Angelicum กรุงโรม

– ได้รับการแต่งตั้งเป็นบาทหลวงในปี 1982 ที่กรุงโรม

ภารกิจในเปรู (1985–1999)

– ไปเป็นมิชชันนารีที่เมืองชูลูกานัสและทรูฮีโย ประเทศเปรู

– ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าชุมชน ผู้สอนศาสนา เจ้าอาวาส และตุลาการศาลศาสนา

– ได้รับความรักจากชาวบ้านในฐานะนักบวชผู้ทุ่มเท

บทบาทในคณะนักบวช

– ท่านได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวงแห่งคณะออกัสติเนียน แขวง “Mother of Good Counsel” ในชิคาโก

– ปี 2001 ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าสูงสุด (Prior General) ของคณะออกัสตินทั่วโลก และดำรงตำแหน่ง 2 สมัย รวม 12 ปี

เส้นทางสู่ตำแหน่งบิชอปและพระคาร์ดินัล

– ปี 2014 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาที่ชิกลาโย ประเทศเปรู

– คำขวัญของเขาคือ “In Illo uno unum” หรือ “พวกเราผู้เป็นหลายคนก็ยังเป็นกายเดียวในพระคริสต์”

– ปี 2018 ได้เป็นรองประธานคนที่สองของสภาประมุขบาทหลวงแห่งเปรู

– ปี 2020 ได้รับมอบหมายให้ดูแลสังฆมณฑลกายาโอ

บทบาทและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสำนักวาติกัน

– ปี 2023 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมณมนตรีฝ่ายแต่งตั้งบิชอป (เทียบเท่ารัฐมนตรีในวาติกัน)

– ปี 2024 ได้รับสถาปนาเป็นพระคาร์ดินัล พร้อมประจำที่โบสถ์เซนต์โมนิกา

– ปี 2025 ได้รับตำแหน่งอาร์ชบิชอป(อัครมุขนายก) และรับมอบโบสถ์เมืองอัลบาโน

– เข้าร่วมประชุมสมัชชาสังฆราชโลกว่าด้วย “การเดินร่วมกันของคริสตจักร” ทั้งในปี 2023 และ 2024

แนวคิดและจุดยืน

– สนับสนุนแนวทางของโป๊ปฟรานซิสในเรื่องผู้อพยพ ความยากจน สิ่งแวดล้อม และสิทธิสตรี

– สนับสนุนการให้ผู้หญิงมีบทบาทในกระบวนการแต่งตั้งบิชอป

– สนับสนุนแถลงการณ์ที่เปิดทางให้อวยพรคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเน้นพิจารณาตามบริบทท้องถิ่น

– แสดงจุดยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมว่า “มนุษย์ไม่ควรครอบงำธรรมชาติอย่างกดขี่” และเรียกร้องให้ “เปลี่ยนคำพูดเป็นการกระทำ”

ความหมายของพระนาม “เลโอ”

– เลือกใช้ชื่อ “เลโอ” ซึ่งสะท้อนความตั้งใจในการสานต่อพันธกิจด้านความยุติธรรมทางสังคม เช่นเดียวกับโป๊ปเลโอที่ 13 ผู้เขียนสาร Rerum Novarum ว่าด้วยสิทธิแรงงาน

– ได้รับคำชื่นชมจากผู้นำศาสนา เช่น อาร์ชบิชอป ฌอน โอมัลลีย์ ที่ระบุว่าชื่อนี้เป็น “สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญและความรับผิดชอบต่อสังคม”

บทบาทสำคัญก่อนรับตำแหน่งโป๊ป

– 9 กุมภาพันธ์ 2025: ร่วมประกอบพิธีมิสซาในวาระปีศักดิ์สิทธิ์แห่งความหวัง

– 3 มีนาคม 2025: นำสวดสายประคำเพื่อสุขภาพของโป๊ปฟรานซิส ณ จัตุรัสนักบุญเปโตร

โป๊ปเลโอที่ 14 คือผู้นำที่สะท้อนถึง “ความต่อเนื่อง” จากแนวทางของโป๊ปฟรานซิส และพร้อมเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ ในโลกยุคปัจจุบัน ด้วยแนวคิดเปิดกว้าง ใกล้ชิดประชาชน และยึดมั่นในคุณค่าทางศาสนาและสังคมร่วมสมัย

ขอบคุณข้อมูลจาก : BBC , Vaticannews

Message us