โฆษกศบ.ทก.ชี้แจงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา

เมื่อวันที่ 24 ก.ค. พลเรือตรี สุรสันต์ คงสิริ รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะโฆษกศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.) แถลงว่า ที่ประชุม ศบ.ทก. ได้มีการพูดคุยติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยไล่เรียงเหตุการณ์ก่อนเกิดการปะทะ โดยเฉพาะล่าสุด เหตุการณ์รอบวางระเบิดที่ช่องอานม้า อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเหตุให้กำลังพลได้รับบาดเจ็บสาหัส ขึ้นยืนยันว่า เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของฝ่ายไทย มีการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง จากนั้นเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 7:35 น ต่างฝ่ายกัมพูชาได้ใช้โดรนบินเพื่อตรวจการการวางกำลังของฝ่ายไทย บริเวณประสาทตาเมือน จากนั้นได้พบความเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชานำอาวุธเข้าประจำการบริเวณด้านหน้าลวดหนาม พร้อมกำลังพล 6 นายอาวุธครบมือ

ทั้งนี้ โดยมี RPG อยู่ในมือ เคลื่อนมายังบริเวณแนวหน้า ซึ่งไฟท้ายมองแล้วว่าสถานการณ์ไม่น่าปลอดภัย ในการตระกูลเจรจาจึงได้ใช้ความพยายามในการตะโกนเจรจาแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จากนั้นเวลา 8.20 น.ฝ่ายกัมพูชาเริ่มเปิดฉากยิงก่อน บริเวณตรงข้ามฐานหมูป่า ทางทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือน ห่างจากปราสาทตาเมือน 200 เมตร ทำให้ฝ่ายไทยจำเป็นต้องตอบโต้ จากนั้นสถานการณ์ก็ได้ขยายพื้นที่ออกไปตามแนวชายแดนต่างๆ และเกิดพื้นที่ปะทะอีก 6 จุด ได้แก่ พื้นที่ปราสาทตามเมือนธม ประสาทตาควาย ช่องบก เขาพระวิหาร บริเวณห้วยตามาเรีย ภูมะเขือ ช่องอานม้า ช่องจอม พร้อมย้ำปัจจุบันฝ่ายกัมพูชา ใช้อาวุธหนัก เช่น BM21 และปืนใหญ่ขนาด 122 มิลลิเมตร ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะฝ่ายไทย รวมถึงการสูญเสียชีวิตของประชาชน

นอกจากนี้ ยังมีการโจมตีพื้นที่สาธารณะ คือ ศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ และยังโจมตีไปยังโรงพยาบาลของไทย ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้มีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัยแล้ว แต่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นเด็กชายอายุ 5 ขวบ และเสียชีวิต 1 คน ในพื้นที่ชุมชนบริเวณชายแดนพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ยอมรับว่า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือประชาชนและสื่อมวลชน ติดตามข่าวสารทางการอย่างต่อเนื่อง

พลเรือตรี กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวฝ่ายไทยได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ 2551 มาตรา 39 โดยให้กองทัพไทยจัดตั้งศูนย์บัญชาการทางทหารในแต่ละระดับชั้น ตั้งแต่ยามปกติเพื่อติดตามสถานการณ์ และควบคุมอำนวยการสั่งการ การปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ศูนย์บัญชาการทางทหาร มีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บังคับบัญชา สามารถดำเนินการใช้กำลังทางทหารได้ พร้อมระบุว่าการดำเนินการของ ศบ.ทก. เดิมมีมาตรการควบคุมเปิดปิดด่าน และได้เน้นย้ำมาเสมอว่า ด่านไทยไม่เคยปิด และใช้มาตรการถึงระดับ 2 คือ จำกัดคนและจำกัดเวลา แต่ปัจจุบันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้จำเป็นต้องยกระดับมาตรการควบคุมชายแดน จุดผ่านแดนต่างๆ ไปถึงระดับที่ 4 คือ ปิดด่านการเข้าออกทุกด่าน ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา และที่ผ่านมาพบว่าสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

อย่างไรก็ตามมีการรายงานว่ามีการจับตานักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางโดยเครื่องบินไปเล่นการพนันในพื้นที่ชายแดน และเดินทางกลับช่องทางทางบกตามแนวชายแดน ซึ่งพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ ทางการไม่สนับสนุน จึงได้มีการรวบรวมและติดตามพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง และจะมีการเข้มงวดกับกลุ่มเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับช่วงนี้มีสถานการณ์ชายแดน ทำให้มีการปิดการชายแดน จึงไม่สามารถเดินทางกลับทางบกได้ จึงขอแจ้งเตือนไปยังประชาชนที่ยังมีพฤติกรรมดังกล่าว ขอให้งดการเดินทางในลักษณะเช่นนี้ พร้อมกันหรือยังอยากฝากไปยังประชาชน ว่า ทางการไม่ได้นิ่งกำลังใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น