“จุรินทร์”ลุยตรวจราคาสินค้าห้างดังโคราชไม่พบสิ่งผิกปกติ

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ห้างแม็คโคร สาขานครราชสีมา ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เพื่อตรวจติดตามราคาสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา โดยมี น.ส.อรวรรณ ศิริโชติรัตน์ ผู้ช่วยรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายงานประชาสัมพันธ์และประสานรัฐกิจ ห้างแม็คโคร ให้กาต้อนรับ

นายจุรินทร์ฯ กล่าวว่า สถานการณ์เงินเฟ้อของไทย มีแนวโน้มชะลอตัวลง  ซึ่งขึ้นไปสูงสุดในเดือนสิงหาคม 7.86 %  จากนั้นเดือนกันยายน ลดลงเหลือ 6.41% และเดือนตุลาคมยังไม่ออก แต่เท่าที่ติดตามและประเมินเบื้องต้น คาดว่า อาจจะไม่ถึง 6% ซึ่งสะท้อนว่า สถานการณ์ราคาสินค้าในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลง ต่างกับหลายประเทศที่ประสบตัวเลขเงินเฟ้อสูงมาก เป็นเพราะรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ทำงานร่วมกับเอกชนและหลายฝ่ายช่วยกันกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการ

ทั้งนี้ เมื่อลงลึกในรายการสินค้าแต่ละหมวด  มีสินค้าหลายตัวที่ราคาปรับลดลง สอดคล้องกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัว เช่น สินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน อาทิ หมูเนื้อแดง ซึ่งห้างแม็คโคร โลตัส และบิ๊กซี  ที่เป็นห้างค้าส่ง-ปลีก ที่ชี้นำราคาในภาพรวมปรับลดลง  โดยห้างแม็คโคร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ราคาหมูเนื้อแดง อยู่ที่กิโลกรัมละ 169 บาท  ส่วนห้างบิ๊กซี อยู่ที่กิโลกรัมละ 168 บาท และห้างโลตัส อยู่ที่กิโลกรัมละ 170 บาท  จึงเห็นได้ว่า หมูเนื้อแดงเฉลี่ยลดลง 12.07 % จากราคาโครงสร้าง   ในขณะที่เนื้อไก่ เฉลี่ยต่ำกว่าราคาโครงสร้าง 3.75-8.01%   , ราคาไข่ไก่เบอร์ 3 ลดลงจากราคาโครงสร้าง 12.22%  และน้ำมันพืช ซึ่งเป็นสินค้าตัวสำคัญโดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ราคาลดลงต่ำกว่าราคาโครงสร้าง โดยก่อนหน้านี้ราคาตกขวดละ 70 บาท ตอนนี้เหลือขวดละ 47-50 บาท โดยประมาณถือว่าลดลง

สำหรับ ผัก เช่น ผักชี ราคาลดลงจากช่วงน้ำท่วม 53%  , ผักกาดขาวปลี ลดลง 32% , คะน้า ลดลง 14% เป็นต้น ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ปรับราคาลดลง มีการจัดรายการลดราคาเป็นพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคจ่ายน้อยลงด้วย  นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังมีนโยบายจัด “โครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน Lot ที่ 20”  กระจายทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด มีส่วนช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนลงมา

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ราคาพืชผลการเกษตร ที่เป็นต้นทุนสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น ก็พบว่า ราคาพืชผลการเกษตรดีขึ้น เช่น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ปรับขึ้นราคาตันละ 15,500-16,000 บาท , ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 13,500-14,000 บาท , ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,200-9,400 บาท , ข้าวเปลือกหอมปทุม ตันละ 10,500-10,800 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,800-11,800 บาท ส่วนปาล์มน้ำมัน จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 6-7 บาทต่อ  , ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กิโลกรัมละ 11-12 บาท,  มันสำปะหลัง กิโลกรัมละ 3 บาทกว่า ถือว่าราคายังดีมาก และมีแนวโน้มดีขึ้นอีก  เพราะตนและกระทรวงพาณิชย์พยายามช่วยหาตลาดเพิ่มเติม มีแนวโน้มทำ MOU ล็อตใหญ่กับประเทศฟิลิปปินส์ในวันนี้ (6 พ.ย. 2565)  ยิ่งทำให้ราคามันสำปะหลังสูงขึ้น ส่วนยางพารา ราคาปรับลดในช่วงนี้ เพราะการผลิตรถยนต์ขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ กระทบต่อการใช้ยาง และโควิดเริ่มคลี่คลายความต้องการใช้ถุงมือยางลดลง แต่รออีกช่วงตนคิดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ และการยางแห่งประเทศไทย กำลังเข้าไปดู  ส่วนยางก้อนถ้วยราคาอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ กิโลกรัมละ20 บาทโดยประมาณ

ข่าว/ภาพ : ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ

Message us