วธ.แถลงจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2568

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รมว.วัฒนธรรม (วธ.) มอบหมายให้ น.ส.พลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2568 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมี นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม น.ส.ลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เครือข่ายทางวัฒนธรรม สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน

น.ส.พลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ควรใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะไม่เพียงแต่เป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์ของชาติไทยที่ถูกที่ควรแล้ว ยังสะท้อนถึงความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความสำคัญกับภาษาไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันภาษาไทยแห่งชาติได้ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเห็นคุณค่าและร่วมกันสืบสานการใช้ภาษาไทยอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

ทั้งนี้ ในปีพุทธศักราช 2568 นี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ในวันอังคารที่ 29๙ กรกฎาคม 2568 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยภายในงานจะมีการมอบเข็มและโล่เชิดชูเกียรติแก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นในหลากหลายสาขา การมอบรางวัลเพชรในเพลง การมอบรางวัลการประกวดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ การมอบเกียรติบัตรผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ตลอดจนการจัดแสดงนิทรรศการ และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ภาษาไทยอย่างภาคภูมิใจต่อไปในอนาคต

นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวเสริมว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลและองค์กรที่มีบทบาทโดดเด่นด้านภาษาไทยอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยในปีพุทธศักราช 2568 นี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้พิจารณาคัดเลือกบุคคลและองค์กรเพื่อรับเข็มและโล่เชิดชูเกียรติทางด้านภาษาไทย แบ่งเป็น 4 ประเภท จำนวน 16 รางวัล ดังนี้


1.​ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จำนวน 1 ราย ได้แก่ รองศาสตราจารย์จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ
2.​ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น จำนวน 7 ราย ได้แก่ (1) นายกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน (2) นายเผด็จ บุญหนุน (3) รองศาสตราจารย์วิภาส โพธิแพทย์ (4) นายสมพล เข็มกำเหนิด (5) นายเอกรัตน์ จิตรมั่นเพียร (6) นายอนุสรณ์ ติปยานนท์ และ (7) รองศาสตราจารย์อรชุมา ยุทธวงศ์
3.​ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น จำนวน 6 ราย ได้แก่ (1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศ ปานเจี้ยง (2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พวงผกา ธรรมธิ (3) นายยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ (4) นายวิเชียร รัตนบุญโน (5) นางสำรวม ดีสม และ (6) นายอรุณศิลป์ ดวงมูล
4.​ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย จำนวน 1 ราย และ 1 องค์กร ดังนี้ (1) ประเภทบุคคล ได้แก่ นางสุรีย์ พันเจริญ และ (2) ประเภทองค์กร ได้แก่ สมาคมกวีร่วมสมัย

ด้านนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานหลักด้านมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ โดยในปี พ.ศ. 2568 กรมศิลปากรได้ดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ 3 กิจกรรม ดังนี้


1. การประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2568 จัดขึ้นเพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ได้แก่ นักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ทางภาษา วรรณศิลป์ คีตศิลป์ และจินตนาการได้อย่างเหมาะสม และนักร้องที่ขับร้องเพลงได้ชัดเจนและถูกต้องตามหลักภาษาไทย มีศิลปะการใช้เสียง และถ่ายทอดจังหวะอารมณ์ในการขับร้องได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งยังเชิดชูเกียรติบุคคล องค์กร หรือโครงการที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริมภาษาไทยและมีคุณูปการต่อวงการเพลง โดยผลการประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2568 มีทั้งสิ้น 20 รางวัล ได้แก่
รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 6 รางวัล
1.รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ ​นายศุภชัย เจียรวนนท์ จากเพลง​กตัญญู
2.รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ ​นายกฤตศิลป์ ฉลองขวัญ จากเพลง​ฟ้าหลังฝน
3.​รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ ​นายสลา คุณวุฒิ จากเพลง​ผู้หญิงหัวใจอีสาน
4.รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ ​นายพีรพัฒน์ คงเพ็ชร จากเพลง​ไอดินกลิ่นหญ้า
5.รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงเพื่อชีวิต ได้แก่​ นายพยัพ คำพันธุ์
​​จากเพลง​สู้ชีวิต
6.รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงเพื่อชีวิต ได้แก่​นายสุรศักดิ์ ตันน้อย (กฤช เกรียงไกร) และ นายประเสริฐ พงษ์ธนานิกร (ราชันย์ วังทอง) จากเพลง​ชีวิต คือ อนัตตา


รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 12 รางวัล
1รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ ​นายทชภณ พลกองเส็ง (พลพล พลกองเส็ง) จากเพลง​อยากให้รู้ว่าห่วงใย
2.​รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ ​นายรัชเมศฐ์ สุวโชคพิบูลย์ (เล็ก รัชเมศฐ์) จากเพลง​ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว
​3.​รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ ​นางสาวสรวีย์ ธนพูนหิรัญ (ผิงผิง) จากเพลง​ฟ้าหลังฝน
​4.รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ ​นางสาวกวิสรา คงบุญศิริคุณ (กอกี้ กวิสรา)
​​จากเพลง​Life of อีหล่า
5.​รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ ​นายอนันต์ อาศัยไพรพนา (นัน อนันต์) จากเพลง​จีบเธอได้ไหม
6.​รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ ​นายกิตติคุน บุญค้ำจุน (มนต์แคน แก่นคูน) จากเพลง​แฟนบ่ว่าบ้อ
​7.​รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ ​นางสาวสุทธิยา รอดภัย (ใบเฟิร์น สุทธิยา) จากเพลง​เสียงหวานจากหลานย่าโม
8.​รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ ​นางสาวกาญจนา มาศิริ จากเพลง​แฟนเก่าที่เรายังรัก
9.​รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย ได้แก่ ​นายวรพล นวลผกา (น๊อตตี้ freedom) จากเพลง​สู้ชีวิต
10.​รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย ได้แก่ ​นายอิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี (จ๋าย ไททศมิตร) จากเพลง​แอบเก็บความในใจไว้ภายในแว่นเรย์แบนสีดำ
​11.​รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตหญิง ได้แก่ ​นางสาวชนาภรณ์ ทวีชาติ (แพร ชนา) จากเพลง​คลื่น
12.​รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตหญิง ได้แก่ ​นางสาวชฎาพร เถาบุญ (บักฟ้า ชฎาพร) จากเพลง​พรหนึ่งข้อ

รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ จำนวน 2 รางวัล
​1.​รางวัลเชิดชูเกียรติ นัจจกรผู้สร้างสรรค์บทเพลงและบทละครเวที ได้แก่​ นางดารกา วงศ์ศิริ
2.​รางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลงและดนตรี ได้แก่​ นายอานันท์ นาคคง
2..​การจัดพิมพ์หนังสือหายาก โดยกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือหายากเรื่อง “จินดามณี ฉบับสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ” ซึ่งเป็นแบบเรียนภาษาไทยในสมัยอยุธยา สอนเรื่องอักขรวิธี การประสมอักษร และการผันวรรณยุกต์อย่างละเอียด มีคุณค่าต่อการศึกษาพัฒนาการด้านอักษรศาสตร์และการเรียนการสอนภาษาไทยในอดีต
3..

​การสัมมนาทางวิชาการด้านภาษาและวรรณคดีไทย ในหัวข้อ “วรรณคดีบทละครไทย” ที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาและวรรณคดีไทยให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อธำรงไว้ซึ่งมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม 2568เวลา 09.00 – 16.30 น. โดยมีการถ่ายทอดสดให้ผู้สนใจรับชมได้ทางเฟสบุ๊กกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

น.ส.พลอยกล่าวเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2568 ในวันอังคารที่ 29กรกฎาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง ร่วมเรียนรู้ และร่วมสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง สร้างสรรค์ และภาคภูมิใจต่อชาติอย่างแท้จริง ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (www.culture.go.th) หรือ Facebook Fanpage : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม