สว.สีน้ำเงินพรึบหนุน”ศราวุธ ทรงศิวิไล”นั่งตุลาการศาล รธน.คนใหม่ปัดตก”สุธรรม”

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ประชุมวุฒิสภามีการประชุมให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงกรรมการองค์กรอิสระ 3 คน แบ่งเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน โดยมี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา หน้าที่ประธานที่ประชุม มีการพิจารณาตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนคือ ร.ต.อ.สุธรรม เชื้อประกอบกิจ อาจารย์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายศราวุธ ทรงศิวิไล อดีตอธิบดีกรมทางหลวง โดยเป็นการประชุมลับ

ก่อนเข้าสู่การประชุมลับ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.พันธุ์ใหม่ คัดค้านไม่ให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะมี สว. 2 ใน 3 ถูกแจ้งข้อหาฮั้วเลือกสว.การพิจารณาจะไม่สง่างาม แต่ถูกสว.หลายคนประท้วงอ้างน.ส.นันทนาพูดวนเวียนซ้ำซาก ในเรื่องที่ประชุมเคยลงมติให้สามารถเลือกองค์กรอิสระได้ เกิดการประท้วงโต้เถียงกันไปมาในที่ประชุมจนวุ่นวาย

พ.ต.อ.กอบ อัจนากิตติ สว.สีน้ำเงิน อภิปรายว่า ที่ประชุมวุฒิสภาเคยมีมติให้ดำเนินการเลือกองค์กรอิสระได้ แต่น.ส.นันทนายังพูดวนเวียนซ้ำซาก ถือว่าผิดจริยธรรม ข้อ 28 ที่ระบุสว. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และรักษาไว้ซึ่งกฎหมาย พร้อมจะดำเนินการเรื่องนี้ ทำให้ น.ส.นันทนาตอบโต้กลับดุเดือดว่า การระบุตนทำผิดจริยธรรม ไม่รู้เอาตัวท่านเองเป็นเกณฑ์หรือไม่ เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงไม่เหมาะสม ไร้จริยธรรม ตนจะดำเนินการเช่นเดียวกัน

มีพล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา หน้าที่ประธานที่ประชุม พิจารณาการให้ความเห็นชอบบุคคลได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนคือ ร.ต.อ.สุธรรม เชื้อประกอบกิจ อาจารย์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายศราวุธ ทรงศิวิไล อดีตอธิบดีกรมทางหลวง โดยเป็นการประชุมลับ ก่อนเข้าสู่การประชุมลับ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ คัดค้านไม่ให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะมีสว. 2 ใน 3 ถูกแจ้งข้อหาฮั้วเลือกสว. แต่ถูกสว.หลายคนประท้วง เพราะน.ส.นันทนาพูดวนเวียนซ้ำซาก ในเรื่องที่ประชุมเคยลงมติให้สามารถเลือกองค์กรอิสระได้ เกิดการประท้วงโต้เถียงกันไปมาในที่ประชุมจนวุ่นวาย

พ.ต.อ.กอบ อัจนากิตติ สว.สีน้ำเงิน อภิปรายว่า ที่ประชุมวุฒิสภาเคยมีมติให้ดำเนินการเลือกองค์กรอิสระได้ แต่น.ส.นันทนายังพูดวนเวียนซ้ำซาก ถือว่าผิดจริยธรรม ข้อ 28 ที่ระบุสว. ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และรักษาไว้ซึ่งกฎหมาย พร้อมจะดำเนินการเรื่องนี้ ทำให้ น.ส.นันทนาตอบโต้ว่า การระบุตนทำผิดจริยธรรม ไม่รู้เอาตัวท่านเองเป็นเกณฑ์หรือไม่ เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงไม่เหมาะสม ไร้จริยธรรม ตนจะดำเนินการเช่นเดียวกัน

จากนั้น น.ต.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ สว. อภิปรายว่า ได้ข่าวว่า การเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน มีการบอกว่าให้เลือกคนหนึ่ง ไม่เลือกอีกคน แต่ไม่เชื่อ สว. ควรมีหิริโอตตัปปะ ควรให้ทั้ง 2 คน มีโอกาสทำงานรับใช้บ้านเมือง ก่อนที่จะเข้าสู่การประชุมลับ เพื่อพิจารณาเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไป กระทั่งเวลา 11.30 น. ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมลับ ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเลือกนายศราวุธเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนน 143 ต่อ 17 งดออกเสียง 27 ไม่ลงคะแนน 2 และลงมติไม่เลือก ร.ต.อ.สุธรรมเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยคะแนน 118 ต่อ 39 งดออกเสียง 30 ไม่ลงคะแนน 2

รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาให้เป็นตุลาการศาล ต้องได้รับคะแนนเห็นชอบจากวุฒิสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือ 100 เสียง จาก 200 เสียง เมื่อ ร.ต.อ.สุธรรม ได้คะแนนเห็นชอบไม่ถึง 100 เสียง จึงถือว่าไม่ได้รับความเห็นชอบจาวุฒิสภา ขณะที่นายสราวุธได้รับการรับรองจาก สว. ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่

สำหรับ ร.ต.อ.สุธรรม เป็นอาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ได้รับการคัดเลือกเพื่อมาแทน ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งครบวาระตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2567 เมื่อชื่อของแคนดิเดตรายนี้ถูกโหวตคว่ำกลางสภา ทำให้ ศ.ดร. นครินทร์ จึงต้องทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีตุลาการคนใหม่มาทำหน้าที่

นายสราวุธเป็นอดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และอดีตอธิบดีกรมทางหลวง สมัยที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เป็น รมว.คมนาคม ได้รับการคัดเลือกเพื่อมาแทนนายปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งครบวาระตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. 2567

อย่าางไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 มี.ค. ที่ประชุมวุฒิสภาได้ตีตกรายชื่อ 2 แคนดิเดตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคือ ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายชาตรี อรรจนานันท์ อดีตอธิบดีกรมการกงสุล และอดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ ทำให้ต้องเริ่มต้นกระบวนการสรรหากันใหม่ ตั้งแต่ชั้นคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 8 คน มีนางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ก่อนส่งรายชื่อมาให้วุฒิสภาพิจารณาต่อ โดยมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 15 คน มี พล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา สว. “สีน้ำเงิน” เป็นประธาน และนำรายงานและรายชื่อมาขอความเห็นชอบจากวุฒิสภาในวันนี้